เรียกว่าเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันมากขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษปีที่ผ่านมา สำหรับ “ความปลอดภัยสาธารณะ (Public Safety)” ไม่เพียงเพราะเหตุก่อการร้าย หรือโศกนาฏกรรมสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่ยังรวมถึงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปจนถึงสงครามความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน หรือการปะทะกันระหว่างอิสราเอลและฮามาส นี่บ่งบอกถึงอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดของภัยคุกคาม ที่นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น 

ความปลอดภัยสาธารณะ

หากจะเอ่ยถึงคำว่า “ความปลอดภัยสาธารณะ” ที่เป็นรูปธรรมครั้งแรก คงต้องย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีที่แล้ว ในปี 1793 ยุคสมัยของการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ (Committee of Public Safety) มีอำนาจในการบังคับกองทัพ ตั้งคณะตุลาการ บังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่ออกโดยสภา หรือแม้แต่จัดตั้งตำรวจ ซึ่งหากดูกันตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวในขณะนั้นแล้ว ดูเหมือนจะเป็นการมุ่งเน้นไปที่กิจการด้านการเมือง ซึ่งต่างจากนิยามความปลอดภัยสาธารณะในทุกวันนี้

ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกมีการนำ “ความปลอดภัยสาธารณะ” ขึ้นมาเป็นนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ เห็นได้ชัดจากช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่มีความพยายามออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการพัฒนานวัตกรรมให้ครอบคลุมความปลอดภัยในทุกด้าน อาทิ ระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน ระบบจัดการกล้อง หรือการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย อย่างการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน (Mass Notification) ผ่านระบบ Cell Broadcast ที่ปัจจุบันมีใช้แล้ว 20 กว่าประเทศทั่วโลก (ในประเทศไทยอยู่ในระหว่างการพัฒนา คาดว่าจะสามารถใช้งานได้อย่างเต็มระบบในปี 2567) หรือ การสร้างช่องทางติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ประสบเหตุและเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ด้วยเบอร์โทรฉุกเฉินเบอร์เดียว อาทิ 911 ที่ใช้ในหลายประเทศทั่วโลก หรือ 112 ที่ใช้ในสหภาพยุโรป ขณะที่ในประเทศไทย การใช้เบอร์โทรฉุกเฉิน 191 เพียงเบอร์เดียว ยังไม่สำเร็จ

หรือจะเป็น การพัฒนาตู้แจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือตู้ SOS เพื่อเป็นจุดแจ้งเหตุ โดยมีการออกแบบรูปลักษณ์และฟังกชันการใช้งานต่างกันไป เช่น สามารถส่งสัญญาณพิกัดของตู้ไปยังศูนย์บัญชาการ หรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใกล้เคียง ให้ทราบว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือแม้แต่ฟังก์ชันที่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงแบบเรียลไทม์  

และหากจะเอ่ยถึงนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการตรวจจับวิเคราะห์ข้อมูล ที่ขาดไม่ได้ ก็ต้อง เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้ในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิด หรือแม้แต่วิเคราะห์พฤติกรรม เพื่อร่นระยะเวลาในการสืบสวนสอบสวน

นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดรับกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เช่น หลายประเทศที่มีการนำเอากล้องติดตัว หรือ Body Camera มาใช้ เพื่อบันทึกภาพเคลื่อนไหวระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ช่วยให้การทำงานของเจ้าหน้าที่มีความโปร่งใสต่อสาธารณะมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเองก็ได้มีการออก พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาบังคับใช้ โดยมีใจความเกี่ยวกับการติดกล้อง Body Cameara ซึ่งอยู่ในมาตรา 22 ว่า 

“การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว”

และแม้เราจะเห็นความสำเร็จของการใช้นวัตกรรมที่เอ่ยถึงมาแล้วในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่กว่าจะมาถึงจุดที่นวัตกรรมด้านความปลอดภัยสาธารณะได้รับการยอมรับจากคนในพื้นที่ได้ ล้วนมีอุปสรรคมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดความรู้ความสามารถของบุคลากรที่รับผิดชอบ การขาดการส่งเสริมสนับสนุน หรือปัจจัยด้านงบประมาณ นี่ยังไม่รวมถึงการต่อต้านเพราะไม่ยอมรับในความเปลี่ยนแปลง หรือยังยึดติดกับแนวคิดแบบเก่า ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ที่ทำให้หลายประเทศยังขาดมาตรฐานความปลอดภัยที่ดี 

ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า แม้จะมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมาย แต่หากไม่มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือใช้พื่อแก้ปัญหา เทคโนโลยีเหล่านั้นก็คงไม่ต่างจากขยะชิ้นหนึ่งที่ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลง หรือคุณค่าใด ๆ ให้กับสังคม แถมยังเป็นการใช้งบประมาณโดยเปล่าประโยชน์

Security Pitch เรามุ่งมั่นส่งเสริมให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยสาธารณะ และความปลอดภัยในทุกด้าน เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านความปลอดภัยที่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริงให้กับสังคมไทย

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ

Related Posts
  • ‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี

    จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]

  • ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน

    จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี  ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]

  • อังกฤษทดลองใช้ AI จับคนขับรถเล่นมือถือ ไม่คาดเข็มขัด ส่งค่าปรับถึงบ้าน

    เว็บไซต์สำนักงานทางหลวงแห่งสหราชอาณาจักร หรือ National Highways ระบุว่า เริ่มมีการนำเทคโนโลยี AI มาทดลองใช้ตรวจจับผู้ขับรถยนต์ที่เล่นมือถือ และไม่คาดเข็มขัดบนท้องถนนอังกฤษ  การทดลองนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานทางหลวงอังกฤษ และ AECOM บริษัทที่ปรึกษาด้านโครงสร้างพื้นฐานข้ามชาติ มีการทดลองโครงการนี้ครั้งแรกในปี 2021 […]

Comments