-
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ช่วยน้ำท่วม
เหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดหนองคาย สะท้อนถึงปัญหาภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นในรอบ 40 ปี แม้มีไม่น้อยวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากส่วนหนึ่งก็เต็มไปด้วยเรื่องราวความประทับใจในการช่วยเหลือ ที่หลั่งไหลมาจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน สาเหตุของน้ำท่วมครั้งใหญ่ สาเหตุของน้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายเกิดจาก แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก ที่ไหลจากประเทศเมียนมา […]
เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ช่วยน้ำท่วม
เหตุการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดหนองคาย สะท้อนถึงปัญหาภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นในรอบ 40 ปี แม้มีไม่น้อยวิพากษ์วิจารณ์ถึงการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากส่วนหนึ่งก็เต็มไปด้วยเรื่องราวความประทับใจในการช่วยเหลือ ที่หลั่งไหลมาจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน
สาเหตุของน้ำท่วมครั้งใหญ่
สาเหตุของน้ำท่วมในจังหวัดเชียงรายเกิดจาก แม่น้ำสาย และแม่น้ำกก ที่ไหลจากประเทศเมียนมา มีปริมาณสูงเกิน จนไม่สามารถบริหารจัดการน้ำและรับมือได้ทัน ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สร้างความเสียหายกว่า 51,353 ครัวเรือน ขณะที่จังหวัดหนองคาย เกิดจากฝนตกหนักสะสมในแม่น้ำโขง ฝั่ง สปป.ลาว ทั้งที่เกิดเหตุภัยพิบัติรุนแรง แต่ระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้ากลับไร้ประสิทธิภาพ นั่นอาจเพราะยังขาดเทคโนโลยีที่ดีพอ
เทคโนโลยีตอบเสนองภัยพิบัติ
ที่ผ่านมาเทคโนโลยีได้ถูกนำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ระบุพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม, แพลตฟอร์มเพื่อขอความช่วยเหลือ หรือล่าสุด ที่มีการนำโดรนเข้าไปประยุกต์ใช้ส่งอาหาร ยา และข้าวของจำเป็นตามบ้านเรือนของผู้ประสบภัย
นอกจากเทคโนโยีที่กล่าวถึง Security Pitch ยังได้รวบรวมกรณีศึกษา เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อช่วยเหลือกรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ร้ายแรง ดังนี้
1.Mass Notification และ Emergency Alert
ระบบการแจ้งเตือนหรือส่งข้อมูลแบบวงกว้างไปยังผู้คนกลุ่มใหญ่อย่างรวดเร็ว มักใช้สื่อสารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เหตุการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติ เหตุการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข หรือสถานการณ์ที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของประชาชน
ระบบแจ้งเตือนแบบวงกว้างนี้สามารถส่งข้อมูลผ่านหลายช่องทาง เช่น ข้อความสั้น (SMS), อีเมล, การโทรด้วยเสียง วีดิโอคอล หรือการแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้สามารถเข้าถึงผู้รับได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สามารถดูกรณีศึกษาได้ที่ : ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน
2. AI
ปัจจุบัน AI สามารถช่วยวิเคราะห์สายเรียกเข้าฉุกเฉินและจัดลำดับความสำคัญตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ตำแหน่ง และทรัพยากรที่มีอยู่ได้ นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการจัดสรรทรัพยากร ช่วยตัดสินใจว่าหน่วยงานใดควรตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยระบบเหล่านี้จะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ รวมถึงข้อมูลเรียลไทม์ นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น Google Flood Hub ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ AI ในการพยากรณ์และเตือนภัยน้ำท่วม สามารถพยากรณ์น้ำท่วมล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน จากการใช้ AI และข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น พยากรณ์อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และแบบจำลองทางอุทกวิทยา เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมล่วงหน้า และคาดการณ์ว่า ระดับน้ำจะลดลงเมื่อใด
3. โดรนและดาวเทียม
โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ เดิมทีโดรนคือหุ่นยนต์ปฏิบัติการทางทหารที่ใช้ในการสอดแนม แต่ในปัจจุบันถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ส่งของ ส่งอาหาร หรือค้นหาผู้ประสบภัยตามสถานที่ต่างๆ ตัวอย่างเช่น สถานการณ์น้ำท่วมที่เชียงรายล่าสุด มีการนำโดรนขนสิ่งของบินเข้าไปในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
ดาวเทียม ถูกนำมาใช้สำหรับการสำรวจ ตรวจจับ และถ่ายภาพจากนอกโลก เพื่อนำมาวิเคราะห์ ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น ดาวเทียม SWOT (Surface Water and Ocean Topography) ของ NASA ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสำรวจแหล่งน้ำทั่วโลก สามารถให้ข้อมูลที่มีความละเอียดสูงเกี่ยวกับระดับน้ำในมหาสมุทรและแหล่งน้ำอื่นๆ ช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์น้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น
4. GIS สำหรับการทำแผนที่ภัยพิบัติ
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ช่วยสร้างแผนที่รายละเอียด ช่วยให้ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรบรรเทาทุกข์ มองเห็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ แหล่งอาศัยประชากร รวมถึงเส้นทางการอพยพ นอกจากนี้ GIS ยังช่วยรวมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และข้อมูลประชากร เป็นต้น
5. IoT (Internet of Things)
อุปกรณ์ IoT เช่น เซ็นเซอร์และปั๊มน้ำอัจฉริยะ ที่เข้ามาช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำ เช่น ระบบการเปิด-ปิดเขื่อน หรือ การปล่อยน้ำจากเขื่อนหรือการกระจายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม
กรณีศึกษาในต่างประเทศ
เพื่อรับมือกับอุทกภัยที่ไม่คาดคิด ในหลายประเทศได้นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบและพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City เพื่อป้องกันหรือแก้ปัญหาน้ำท่วม ดังนี้
- เนเธอร์แลนด์ มีการทำระบบ Delta Works ออกแบบขึ้นเพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วยการสร้างเขื่อนและประตูน้ำขนาดใหญ่ โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับระดับน้ำและระบบอัตโนมัติในการเปิด-ปิดประตูน้ำ
- สิงคโปร์ มีระบบ Marina Barrage ซึ่งเป็นเขื่อนที่ช่วยควบคุมระดับน้ำในอ่าวและป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เมือง โดยใช้เซ็นเซอร์ตรวจสอบระดับน้ำและปั๊มน้ำขนาดใหญ่ เพื่อจัดการการระบายน้ำเมื่อมีฝนตกหนัก
- สหรัฐอเมริกา มีระบบเตือนภัยน้ำท่วม Flash Flood Warning System ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและเรดาร์ เพื่อคาดการณ์ฝนตกหนักและแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าผ่านทางสื่อสาธารณะและแอปพลิเคชันมือถือ
- ญี่ปุ่นมีระบบ J-Alert สำหรับแจ้งเตือนภัย และ ระบบ G-Cans Project (Tokyo Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel) เป็นระบบระบายน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งมีห้องเก็บน้ำขนาดมหึมาและอุโมงค์ใต้ดินที่ช่วยในการระบายน้ำส่วนเกินลงสู่แม่น้ำ การทำงานของระบบนี้ใช้เทคโนโลยีการตรวจจับและควบคุมการไหลของน้ำอย่างแม่นยำ
อย่างไรก็ตามแม้ปัจจุบันมีเทคโนโลยีจำนวนมากถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหา แต่สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผสมผสานระหว่างการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากรที่ดี ก็อาจช่วยสร้าง
ที่มา : Swot-NASA , Expand My Business, NLB Gov, Water-Technology, DHI Group