สหภาพยุโรบประกาศใช้กฎระเบียบเกี่ยวกับระบบ eCall ในรถยนต์ กฎหมายใหม่นี้มีบริบทเดียวกันกับกฎระเบียบที่เพิ่งประกาศไปเกี่ยวกับอุปกรณ์ eCall ใน PSAP 

การออกกฎระเบียบใหม่นี้เพื่อให้ระบบรองรับทำงานบนเครือข่ายแบบ packet-switched networks หรือเครือข่ายแบบสลับแพ็กเกจ 4G หรือ 5G  ซึ่งคาดว่าจะมีการปิดเครือข่าย 2G และ 3G 

ระบบ eCall หรือ ระบบการโทรฉุกเฉินอัจฉริยะ มีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน คือ IVS: In Vehicle System ระบบในยานพาหนะ, Communication ระบบในการส่งข้อมูล, PSAP: Public Safety Answering Point ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ซึ่งระบบนี้ยังคงใช้งานแค่กับประเทศในสหภาพยุโรป

ตัวอย่างการทำงานของระบบมีดังนี้

  1. เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง
  2. ระบบ eCall เปิดใช้งานโดยอัตโนมัติ หรือกดปุ่ม SOS ด้วยตนเอง
  3. เชื่อมต่อกับศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด
  4. ส่งข้อมูล เช่น ตำแหน่ง เวลา หมายเลขประจำตัวรถ ทิศทางการเดินรถ
  5. เจ้าหน้าที่ประเมินสถานการณ์และส่งเจ้าหน้าที่กู้ภัยไปยังจุดเกิดเหตุ

กฎระเบียบใหม่มีข้อกำหนดดังนี้ 

  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2025 หน่วยงานภาครัฐไม่อาจปฏิเสธการอนุมัติรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่ติดตั้งระบบ eCall และได้รับรองมาตรฐาน IMS (Integrated Management System) ผ่านเครือข่ายแบบสลับแพ็กเกจ
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2026 มาตรฐานใหม่สำหรับ eCall ที่ได้รับรอง IMS ผ่านเครือข่าย แบบสลับแพ็กเกจ จะกลายเป็นมาตรฐานอ้างอิงสำหรับระบบ eCall ภายในรถยนต์ ระบบที่ใช้เครือข่าย 2G/3G ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และหน่วยงานภาครัฐจะไม่อนุมัติประเภทรถยนต์ใหม่สำหรับระบบ eCall ที่ใช้มาตรฐานเก่า
  • ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2027 ใบรับรองความถูกต้องสำหรับรถยนต์ที่ได้รับอนุมัติหลังวันที่ 31 มีนาคม 2018 และไม่เป็นไปตามมาตรฐานใหม่ที่ใช้เครือข่ายแบบสลับแพ็กเกจ ก็จะไม่สามารถใช้งานระบบได้

หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรปประกาศใช้ข้อบังคับ จะมีระยะเวลา 2 เดือนในการยื่นคัดค้านกฎหมายใหม่นี้  หากไม่มีการคัดค้าน กฎหมายจะได้รับการเผยแพร่ในวารสารทางการของสหภาพยุโรป และจะมีผลบังคับใช้ทันที

ระบบเครือข่าย eCall ยังคงขยายการใช้งานไปในหลายประเทศ แต่จากข้อมูลทำให้ทราบว่า ระบบนี้สามารถลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการทำงานของเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุได้

ที่มา : eena

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ

Related Posts
  • กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน

    เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ  […]

  • ‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี

    จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]

  • ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน

    จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี  ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]

Comments