ตั้งแต่เราตื่นนอน ดำเนินกิจวัตรประจำวัน หรือออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อพักผ่อน ท่องเที่ยว หรือเพื่อภารกิจต่าง ๆ จะไปคนเดียว หรือไปกับกลุ่มเพื่อน กับครอบครัว ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนล้วนต้องการความสะดวกสบายและความปลอดภัย จึงไม่แปลกที่จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

ที่ผ่านมามีเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ไม่เว้นแม้แต่บทบาทการใช้เทคโนโลยีสร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ เพื่อลดปัญหาเหตุความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี

จากสถิติอาชญากรรมตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 จนถึง 30 ก.ย. 2566 อ้างอิงจากข้อมูลของ สตช. พบว่า มีการแจ้งความคดีเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเพศ ถึง 17,848 คดี จับกุมได้ 16,678 คดี จำนวนคนร้าย 22,045 คน ในจำนวนนี้พบว่าคดีที่ก่อเหตุมากที่สุด คือ การทำร้ายร่างกาย 9,616 คดี รองลงมาคือ พยายามฆ่า 2,241 คดี ข่มขืน 1,885 คดี และฆ่าผู้อื่น 1,308 คดี 

เพื่อบังคับใช้กฎหมาย ให้เจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยพื้นที่สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเทคโนโลยีใดมาช่วยส่งเสริมได้บ้าง 

1. เทคโนโลยีความปลอดภัยสาธารณะพื้นฐานที่ต้องมี

  • ระบบเฝ้าระวังและตรวจจับภัยคุกคามแบบ Real-Time ไม่ว่าจะเป็น การสอดส่องหรือตรวจจับผ่านอุปกรณ์ เช่น กล้องวงจรปิด โดรน และเซ็นเซอร์ ทั้งนี้รวมถึงการเฝ้าระวังและตรวจจับภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ด้วย
  • Data-Driven Policing and Predictive Analytics การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์รูปแบบอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้น ระบุพื้นที่เสี่ยง คาดการณ์แนวทางที่เป็นไปได้ โดยการใช้ “ข้อมูล” ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ นำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยสาธารณะอย่างทันท่วงที 
  • เทคโนโลยี Emergency Response เช่น ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน แอปพลิเคชันมือถือ และระบบติดตาม GPS ฉุกเฉิน เพื่อการตอบสนองที่รวดเร็ว 

2. นวัตกรรมเครื่องมือตรวจจับภัยคุกคาม

  • กล้อง CCTV (Closed-Circuit Television)  คือ อุปกรณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปในสถานที่สาธารณะ สถานประกอบการ และพื้นที่อยู่อาศัย กล้องเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการยกระดับ ความปลอดภัยสาธารณะ ด้วยการติดตาม เฝ้าระวัง ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการนำเทคโนโลยี AI มาเพิ่มประสิทธิภาพกล้องให้เริ่มมีการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในกล้องเช่นกัน 
  • โดรนตรวจจับทางอากาศ เพื่อความรวดเร็วในการบินสำรวจพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถส่งภาพไปยังเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายหรือผู้รับผิดชอบได้แบบเรียลไทม์ ความสามารถนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น เพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาจากการระบุตำแหน่งของผู้สูญหายหรือผู้ประสบภัย นอกจากนี้กรณีเกิดภัยธรรมชาติหรือภัยคุกคามใหญ่ ๆ โดรนยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินความเสียหาย และวางแผนรับมือได้ดีขึ้น
  • เซ็นเซอร์ IoT สำหรับตรวจจับสภาพแวดล้อม  Internet of things (IoT) เสริมศักยภาพอุปกรณ์ไอทีต่าง ๆ 
  • ระบบจดจำและแยกแยะใบหน้า  เทคโนโลยีการจำแนกใบหน้าบุคคลได้รับความสนใจในด้านความปลอดภัยสาธารณะเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีนี้เกี่ยวข้องกับการใช้อัลกอริทึมเพื่อระบุและยืนยันตัวบุคคลจากลักษณะใบหน้า แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะมีประโยชน์ในด้านการบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ยังมีประเด็นที่น่ากังวลไม่น้อยเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว
  • Geospatial Data Analysis เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อยกระดับความปลอดภัยสาธารณะ ด้วยการนำข้อมูลต่าง ๆ เช่น สถิติอาชญากรรม รูปแบบการจราจร หรือเวลาปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน มาแสดงบนแผนที่ เพื่อช่วยในการวางแผนการรับมือหรือการตัดสินใจ 

3. ระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน 

  • ระบบแจ้งเตือน SOS และติดตามด้วย GPS Tracking  

หากจะยกตัวอย่างเทคโนโลยีดังกล่าวที่เห็นภาพได้ชัดเจน ก็เช่น บริการ 911 ที่มีการนำเทคโนโลยีติดตามความเคลื่อนไหว GPS Tracking มาใช้ เมื่อมีการโทรเข้า 911 เจ้าหน้าที่จะสามารถเข้าถึงตำแหน่งของผู้ร้องเรียนได้ทันที ทำให้สามารถตอบสนองเหตุการณ์ได้เร็วขึ้น GPS Tracking จึงเป็นอีกเครื่องมือสำคัญสำหรับติดตามผู้แจ้งเหตุ 

  • Mobile Application สำหรับรายงานเหตุฉุกเฉิน 

ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถรายงานเหตุฉุกเฉินไปยังเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แอปพลิเคชันเหล่านี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกในกระบวนการรายงานเหตุ แต่ยังอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ภาพถ่ายหรือวิดีโอในเหตุการณ์ที่กำลังเกิด หรือบางแอปก็มีฟีเจอร์การแชร์ตำแหน่งจุดเกิดเหตุอัตโนมัติซึ่งสามารถช่วยให้บริการตอบสนองเหตุฉุกเฉินรวดเร็วขึ้น

  • ระบบแจ้งเตือนที่ขับเคลื่อนด้วย AI

ปัจจุบันความสามารถของ AI ยังช่วยวิเคราะห์สายเรียกเข้าฉุกเฉิน และจัดลำดับความสำคัญตามระดับความรุนแรงของสถานการณ์ ตำแหน่ง และทรัพยากรที่มีอยู่ได้ นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการจัดสรรทรัพยากร ช่วยตัดสินใจว่าหน่วยงานใดควรตอบสนองต่อเหตุการณ์ โดยระบบเหล่านี้จะใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้ รวมถึงข้อมูลเรียลไทม์ นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน

  • First Responder Communication

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่าง First Responder หรือ เจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติงานด่านแรก มีความสำคัญอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าปฏิบัติงานด่านแรกสามารถเข้าถึงเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยสำคัญคือการแลกเปลี่ยนข้อมูล การประสานงาน และการรับข้อมูลอัปเดตแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่การแพทย์ จึงควรมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เช่น วิทยุสื่อสาร หรืออุปกรณ์รับส่งข้อมูลเคลื่อนที่ ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถติดต่อกันได้แม้ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายที่สุด เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับความปลอดภัยของหน่วยงาน แต่ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ

ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติเป็นองค์ประกอบสำคัญของการตอบสนองเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น เซ็นเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือน ดาวเทียมเช็กสภาพอากาศ หรือระบบอัลกอริทึมเตือนภัยล่วงหน้า ที่จะคอยตรวจจับแนวโน้มการเกิดภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหว พายุไต้ฝุ่น หรืออุทกภัย และเมื่อมีการตรวจพบภัยคุกคาม จะมีการแจ้งเตือนอัตโนมัติไปยังเจ้าหน้าที่ และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบได้ทันที 

4. เทคโนโลยีการสื่อสาร

  • โซเชียลมีเดียเครื่องมือสื่อสารชั้นดี

ในยุคที่พลังของโซเชียลมีเดียทรงประสิทธิภาพ การเพิ่มความปลอดภัยสาธารณะ แพลตฟอร์มออนไลน์ อย่าง Twitter, Facebook และ Instagram ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้ข้อมูล รวมถึงกระจายข่าวสารสำคัญจากหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย และบริการฉุกเฉิน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์อย่างทันท่วงที 

  • เครือข่ายวิทยุความปลอดภัยสาธารณะ

เครือข่ายวิทยุความปลอดภัยสาธารณะทำหน้าที่เป็นสายด่วนสำหรับผู้ตอบสนองคนแรก ระบบการสื่อสารเฉพาะเหล่านี้จะช่วยให้การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยดับเพลิง บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และหน่วยงานอื่น ๆ เป็นระบบมากขึ้น 

  • ระบบแจ้งเตือนฉุกเฉิน

ระบบแจ้งเตือนฉุกเฉินเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการกระจายข้อมูลเร่งด่วนไปยังสาธารณะ สามารถส่งการแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ รวมถึงวิทยุ โทรทัศน์ อุปกรณ์มือถือ หรือแม้แต่เสียงไซเรน 

  •  เว็บไซต์รายงานเหตุการณ์ (Incident Reporting Portals)

เว็บไซต์รายงานเหตุการณ์เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพสำหรับประชาชนในการแจ้งเหตุน่าสงสัยหรือเหตุฉุกเฉิน แพลตฟอร์มออนไลน์หรือแอปพมือถือเหล่านี้ ช่วยให้ประชาชนสามารถส่งข้อมูล รูปภาพ หรือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ทำให้เจ้าหน้าสามารถประเมินข้อมูลและดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

  • Interagency Data Sharing 

หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสาธารณะจำเป็นต้องมีการแบ่งปันข้อมูลสำคัญ เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างโปรโตคอลช่วยในการแบ่งปันข้อมูลที่ปลอดภัย ช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ทันสถานการณ์ ยิ่งหากมีการบูรณาการนำข้อมูลจากหลากหลายแห่งมาใช้งาน เช่น ประวัติอาชญากรรม ประวัติการแพทย์ และข้อมูลสิ่งแวดล้อม ก็จะอาจช่วยชีวิตและเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยสาธารณะได้ดียิ่งขึ้น

5.Predictive Policing

  • การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์เหตุอาชญากรรม (Data Analytics for Crime Prediction)

หัวใจสำคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์​ ระบุรูปแบบ และแนวโน้มที่จะเกิดอาชญากรรม โดยหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายจะต้องรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ว่าจะข้อมูลอาชญากรรมย้อนหลัง ข้อมูลประชากร และสภาพอากาศ เป็นต้น

  • กลยุทธ์การวิเคราะห์ด้วยอัลกอริทึมเพื่อป้องกันอาชญากรรม (Algorithmic Policing Strategies)

กลยุทธ์ดังกล่าวนี้มีบทบาทสำคัญในการคาดการณ์อาชญากรรม ไม่เพียงแต่วิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมในอดีต หากยังพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น เวลาของวัน วันในสัปดาห์ หรือแม้แต่เหตุการณ์ทางสังคม เพื่อสร้างแบบจำลองการคาดการณ์ ช่วยให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคาดการณ์ได้ว่า อาชญากรรมจะเกิดขึ้นเมื่อใดและที่ไหน วิธีการเชิงรุกนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถวางตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ได้ รวมถึงลดเวลาตอบสนองและปรับปรุงความปลอดภัยโดยรวมในชุมชนได้อีกด้วย

  • Crime Heatmaps

Crime Heatmaps เป็นการแสดงผลข้อมูล Predictive Policing Data โดยเน้นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อกิจกรรมทางอาญา ทำให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น Crime Heatmaps ที่มีการระบายสีไว้ ทำให้สามารถระบุเขตที่มีแนวโน้มเกิดอาชญากรรมและปรับเปลี่ยนการลาดตระเวนได้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีนี้ไม่เพียงช่วยในการป้องกันอาชญากรรมแต่ยังช่วยเสริมการรับรู้ความปลอดภัยของสาธารณะด้วย

  • การระบุจุดสุ่มเสี่ยงอาชญากรรมเชิงพยากรณ์ (Predictive Hotspot Identification)

เดิมทีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดอาชญากรรม มักเป็นการระบุพื้นที่กว้าง ๆ เช่น ย่านใจกลางเมือง หรือบริเวณรอบสถานบันเทิงว่ามีความเสี่ยงต่ออาชญากรรมสูงมากแค่ไหน ขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวนี้จะกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ที่สำคัญที่สุดให้กับเจ้าหน้าที่เป็นกลยุทธ์เชิงรุก ซึ่งได้รับการพิสูจน์ในหลายเมืองที่ใช้แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง 

  • เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรม

เครื่องมือวิเคราะห์พฤติกรรมเป็นอีกด้านของการบังคับใช้กฎหมายเชิงคาดการณ์ เครื่องมือเหล่านี้ศึกษาจิตวิทยาและพฤติกรรมของผู้กระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้น โดยศึกษารูปแบบพฤติกรรมทางอาญา ซึ่งหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายสามารถระบุตัวตนบุคคลที่อาจมีความเสี่ยงสูงในการก่ออาชญากรรม เพื่อเข้าแทรกแซงหรือฟื้นฟูในระยะเริ่มแรก พร้อมช่วยลดอัตราการกระทำความผิดซ้ำ อันจะเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยในระยะยาว

การบูรณาการเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเหล่านี้สำคัญมากต่อกลยุทธ์การบังคับใช้กฎหมายเชิงคาดการณ์ เพราะช่วยให้มีเวลาตอบสนองที่เร็วขึ้น การประสานงานดีขึ้น รวมถึงมีการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการเพิ่มความปลอดภัยสาธารณะและปรับสมดุลสร้างความยืเหยุ่นในการเผชิญกับเหตุภัยคุกคามทางอาญา

6. Disaster Management

  • ระบบเตือนภัยล่วงหน้า

ระบบเตือนภัยล่วงหน้ามีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างเกิดภัยพิบัติ ระบบเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการตรวจจับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หรือ เหตุการณ์สภาพอากาศรุนแรง ได้แบบเรียลไทม์ ทำให้หน่วยงานสามารถแจ้งเตือนชุมชนในพื้นที่เสี่ยงได้ทันเวลา การแจ้งเตือนเหล่านี้ยังสามารถส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะผ่าน แอปพลิเคชัน SMS หรือไซเรน เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลและสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม

  • GIS สำหรับการทำแผนที่ภัยพิบัติ

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ช่วยสร้างแผนที่รายละเอียด ช่วยให้ผู้ตอบสนองเหตุฉุกเฉิน หน่วยงานรัฐบาล และองค์กรบรรเทาทุกข์ มองเห็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ แหล่งอาศัยประชากร รวมถึงเส้นทางการอพยพ นอกจากนี้ GIS ยังช่วยรวมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศ และข้อมูลประชากร เป็นต้น วิธีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนี้จะทำให้การประสานงานและการจัดสรรทรัพยากรในช่วงวิกฤตมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้

  • Evacuation Planning Software

Evacuation Planning Software ใช้ขั้นตอนและข้อมูลเรียลไทม์ในการปรับเส้นทางการอพยพ และตำแหน่งที่พักพิงให้เหมาะสม ระบบเหล่านี้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพการจราจร ความหนาแน่นของประชากร และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อให้กระบวนการอพยพเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยนอกจากนี้ยังสามารถให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับสถานะของที่พักพิง และตัวเลือกการขนส่ง ลดความไม่แน่นอนและความตื่นตระหนก แก่ผู้อพยพได้

  • Resource Allocation Algorithms

จัดสรรทรัพยากร เช่น อาหาร น้ำ เวชภัณฑ์ และบุคลากร อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นเหล่านี้หากมีการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีไม่เพียงจะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจแจกจ่ายทรัพยากรตามความจำเป็นและเร่งด่วนได้อย่างทั่วถึง หากแบบจำลองการเรียนรู้ของเทคโนโลยีดังกล่าวยังช่วยในการคาดการณ์รูปแบบความต้องการ นอกจากนี้ยังมีการสำรวจเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการกระจายความช่วยเหลือ ทำให้มั่นใจได้ว่าทรัพยากรจะไปถึงผู้ที่ต้องการอย่างแท้จริง

  • การประเมินภัยพิบัติด้วยการสำรวจระยะไกล

ปัจจุบันเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล รวมถึงดาวเทียมและโดรนทางอากาศได้เข้ามาช่วยประเมินภัยพิบัติและประเมินความเสียหายได้มากขึ้น เนื่องจากให้ภาพที่มีความละเอียดสูงช่วยในการระบุพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ประเมินขอบเขตของความเสียหาย และจัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์

โดรนทางอากาศบางประเภทยังสามารถสำรวจพื้นที่ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย สามารถรวบรวมข้อมูลสำคัญเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือทีมกู้ภัยประเมินเหตุ ตอบสนองต่อวิกฤตได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การบูรณาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการจัดการภัยพิบัติ ไม่เพียงมีเป้าหมายเพื่อช่วยชีวิต แต่ยังช่วยลดผลกระทบของภัยพิบัติต่อชุมชน โดยการรวมกันของระบบเตือนภัยล่วงหน้า เช่น การทำแผนที่ GIS ซอฟต์แวร์การวางแผนอพยพ การจัดสรรทรัพยากร และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล ก่อให้เกิดแนวทางการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองที่ครอบคลุม นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยให้หน่วยงานที่ดูแลความปลอดภัยสาธารณะสามารถดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เมื่อต้องเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือ ที่เกิดจากมนุษย์

7. ระบบป้องกันภัยทางไซเบอร์ 

  • ปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญ เช่น โครงข่ายไฟฟ้า ระบบขนส่ง และสถานพยาบาล เป็นเป้าหมายหลักของการโจมตีทางไซเบอร์ การรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินสำคัญเหล่านี้ จึงควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง เช่น มีระบบตรวจจับ Firewall  และการแบ่งเครือข่าย (Network Segmentation) ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์

  • การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล

ในยุคที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะแทบจะทุกหน่วยงานมีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดอ่อน รวมถึงบันทึกข้อมูลอาชญากรรมและข้อมูลติดต่อฉุกเฉิน ซึ่งหากไม่มีเทคนิคการเข้ารหัสที่แข็งแกร่งมาใช้เพื่อปกป้องข้อมูล ควบคุมการเข้าถึงอย่างเข้มงวด หรือมีโปรโตคอลการตรวจสอบสิทธิ์ช่วยให้แน่ใจว่าบุคลากรที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนนี้ได้ ก็อาจต้องเผชิญความเสี่ยงทที่จะทำให้เกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้

  • มาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภาครัฐ

หน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยสาธารณะลงทุนอย่างมากในด้าน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ สำคัญคือควรมีการตรวจสอบ ประเมินช่องโหว่ และทดสอบการเจาะระบบเป็นประจำ เพื่อหาช่องโหว่และแก้ไขจุดอ่อน ปัจจุบันมีบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่น้อย ที่พยายามร่วมมือสร้างเครือข่ายสำหรับแบ่งปันข้อมูล ทำให้ภาครัฐรับทราบเกี่ยวกับภัยคุกคามใหม่ที่เกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในสาขาความปลอดภัยทางไซเบอร์

  • เทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล

การเข้ารหัสเป็นรากฐานของการปกป้องข้อมูล อัลกอริทึมการเข้ารหัสขั้นสูง จะเข้ารหัสข้อมูล ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่สามารถเข้าถึงได้ ทั้งนี้การเข้ารหัสแบบครบวงจรมีตั้งแต่การเข้ารหัสในระบบการสื่อสารไปจนถึงการเข้ารหัสข้อมูลในฐานข้อมูล เพื่อให้แน่ใจว่า แม้ว่าข้อมูลจะถูกบุกรุกก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

  • การตรวจสอบความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกำหนด

เพื่อรักษามาตรฐานสูงสุดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ หน่วยงานด้านความปลอดภัยสาธารณะควรมีข้อบังคับอุตสาหกรรมและกรอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด โดยควรตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจำ ประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าโปรโตคอลความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมาย การตรวจสอบเหล่านี้ยังช่วยระบุให้ทราบว่าจำเป็นต้องปรับปรุงหรืออัปเดตมาตรการในจุดใด เพื่อปกป้องข้อมูลด้านความปลอดภัยสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ

การผสานรวมมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ทันสมัยเหล่านี้ ไม่เพียงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของประชาชน หากยังเป็นเกราะป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีศักยภาพ ช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในชุมชนให้พร้อมรับมือกับความท้าทายในยุคดิจิทัล

8. เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับชุมชน 

  • แอปพลิเคชันมือถือสำหรับรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เกิดการพัฒนา Mobile Application อย่างแพร่หลาย แอปเหล่านี้นับเป็นอีกนวัตกรรมที่ช่วยปฏิวัติการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ

ทั้งนี้ Mobile Application ที่ออกแบบขึ้นสำหรับการรักษาความปลอดภัยสาธารณะ ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับพลเมืองในการมีส่วนร่วมในการรายงานเหตุผิดปกติ โดยไม่ต้องเปิดเผยตัวตน  รวมถึงช่วยในการส่งเสริมประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายได้เป็นอย่างดี

  • โปรแกรม Virtual Neighborhood Watch 

โปรแกรม Virtual Neighborhood Watch เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย ในการเชื่อมต่อผู้อยู่อาศัย โปรแกรมเหล่านี้ช่วยขจัดอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ โดยอำนวยความสะดวกให้การสื่อสารแบบเรียลไทม์ระหว่างสมาชิกในชุมชน ทำให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล รวมถึงการแจ้งเตือนฉุกเฉินด้วย 

  • แพลตฟอร์มเก็บความคิดเห็นของประชาชน

การมีส่วนร่วมของพลเมืองในกระบวนการรักษาความปลอดภัยสาธารณะไม่ได้จำกัดเพียงการ รายงานเหตุการณ์ แต่ยังเกี่ยวข้องกับการแสวงหาข้อเสนอแนะและคำแนะนำ แพลตฟอร์มความคิดเห็นของพลเมืองนับเป็นเครื่องมือดิจิทัลที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย ข้อกังวลด้านความปลอดภัย และความต้องการของชุมชนได้อีกด้วย 

หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายยังสามารถใช้ความคิดเห็นอันมีค่านี้ เพื่อปรับกลยุทธ์และลำดับความ สำคัญของตนให้สอดคล้องกับการบริการชุมชนได้ดีขึ้น รวมถึงช่วยสร้างช่องทางสำหรับการเจรจาที่สร้างสรรค์ระหว่างพลเมืองและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ส่งเสริมความโปร่งใสและความไว้วางใจ แสดงถึงการให้สิทธิ์ผู้อยู่อาศัยในการกำหนดนโยบายด้านความปลอดภัยสาธารณะ เชื่อมต่อระหว่างชุมชนและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในท้องถิ่น

  • Community Policing Initiatives

Community Policing Initiatives เป็นวิธีการเชิงรุกเพื่อความปลอดภัยสาธารณะที่เน้นการทำงานและการแก้ปัญหาร่วมกัน ช่วยให้หน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายมีส่วนร่วมกับชุมชน ในการยับยั้ง ต้นตอของอาชญากรรมที่อาจเกิดขึ้น

โครงการเหล่านี้มักเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับสมาชิกในชุมชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจ โดยเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความพยายามในการดูแลชุมชนผ่านเครื่องมือ เช่น ฟอรัมชุมชน การสำรวจออนไลน์ และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งช่วยในการบังคับใช้กฎหมาย หรือปรับกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนได้ นำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยขึ้น ลดอัตราการเกิดอาชญากรรมลง

  • ให้ความรู้และจัดเสวนาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์

การประชุมเชิงปฏิบัติการและสัมมนาด้านความปลอดภัยสาธารณะ เป็นการเปิดโอกาสอันมีค่าให้สมาชิกในชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัย การเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉิน โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการป้องกันอาชญากรรม การตอบสนองต่อภัยพิบัติ และการสร้างความปลอดภัยส่วนบุคคล ซึ่งเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าวนี้ ก็เช่น การเข้าร่วมโต้ตอบ การสตรีมสด หรือการประชุมออนไลน์  

การประชุมเชิงปฏิบัติการและสัมมนาด้านความปลอดภัยสาธารณะไม่เพียงแต่ให้ความรู้แก่ผู้อยู่อาศัย หากยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเสริมสร้างความปลอดภัยในชุมชน โดยเครื่องมือที่ใช้ อาจอยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชันมือถือ โปรแกรมเสมือนจริง หรือแพลตฟอร์มความคิดเห็น เป็นต้น

9. เทคโนโลยีบริหารจัดการความปลอดภัยจราจร

  • ไฟจราจรอัจฉริยะ

ไฟจราจรอัจฉริยะที่ติดตั้งเซนเซอร์และเชื่อมต่อกับระบบศูนย์กลาง กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการจราจรในเมือง ระบบอัจฉริยะเหล่านี้ช่วยตรวจสอบสภาพการจราจรแบบเรียลไทม์ รวมถึงปรับเวลาไฟสัญญาณตามสถานการณ์

เช่นในช่วงเวลาเร่งด่วน ไฟจราจรอัจฉริยะสามารถเพิ่มเวลาไฟเขียวในเส้นทางที่มีการจราจรหนาแน่นเพื่อลดความแออัด นอกจากนี้ยังสามารถตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน โดยสร้างทางผ่านพิเศษสำหรับรถพยาบาล หรือ รถดับเพลิง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลความปลอดภัยสาธารณะในสถานการณ์วิกฤต

  • Vehicle-to-Infrastructure Communication (V2I)

นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยของการจราจร เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานการจราจร กับยานพาหนะ เช่น เมื่อยานพาหนะเข้ามาใกล้สี่แยก จะสามารถรับข้อมูลจากไฟจราจรได้ว่า เมื่อใดที่ไฟจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว ซึ่งไม่เพียงแต่ลดระยะเวลา แต่ยังป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดจากการฝ่าไฟแดงได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการจัดการการจราจรที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

  • เพิ่มประสิทธิภาพการจราจรด้วย Traffic Flow Optimization

เพิ่มประสิทธิภาพการจราจรด้วย Traffic Flow Optimization โดยใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ และกล้องต่าง ๆ เพื่อทำนายและจัดการความแออัดของการจราจรในเชิงรุก สามารถระบุจุดที่มีความแออัด แนะนำเส้นทางทางเลือกให้กับผู้ขับขี่ได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังสามารถประสานงานไฟจราจรและปรับความเร็วเพื่อทำให้การจราจรไหลลื่น ป้องกันการเกิดจุดบอด และยังช่วยลดความหยุดชะงักของการจราจรได้

  • Automated Traffic Enforcement

Automated Traffic Enforcement ใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบและบังคับใช้กฎจราจร ตัวอย่างที่พบได้บ่อย เช่น กล้องตรวจจับไฟแดง กล้องจับความเร็ว ระบบเหล่านี้จะคอยจับภาพการละเมิด และออกใบสั่งอัตโนมัติ เพื่อป้องกันพฤติกรรมการขับขี่ที่เกิดจากความประมาท นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมายอัตโนมัตินี้ยังช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับการบังคับใช้กฎหมาย 

  • นวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของคนเดินถนน

นอกจากมาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ เทคโนโลยียังช่วยปรับปรุงความ ปลอดภัยของคนเดินถนนได้ด้วย เช่น ทางข้ามถนนที่ติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับการเดินของคนบนถนนหรือช่วยปรับสัญญาณไฟจราจร ให้เหมาะสม หรือ แอปพลิเคชันที่สามารถให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์แก่ผู้คนเดินถนน เกี่ยวกับจุดข้ามถนนที่ปลอดภัย แจ้งเตือนเมื่อมีรถเข้ามาใกล้ โดยนวัตกรรมเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อลด อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับคนเดินถนนและเพิ่มความปลอดภัยในการจราจรโดยรวม

ที่มา : Expand My Business

บทความที่น่าสนใจ

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์ “OneForce”

Tel. : 061-462-6414, 064-189-9292
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

Related Posts
  • ‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี

    จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]

  • ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน

    จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี  ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]

  • ‘เทคโนโลยี’ เสริมประสิทธิภาพความปลอดภัยสาธารณะได้อย่างไร?

    ตั้งแต่เราตื่นนอน ดำเนินกิจวัตรประจำวัน หรือออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อพักผ่อน ท่องเที่ยว หรือเพื่อภารกิจต่าง ๆ จะไปคนเดียว หรือไปกับกลุ่มเพื่อน กับครอบครัว ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกคนล้วนต้องการความสะดวกสบายและความปลอดภัย จึงไม่แปลกที่จะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ที่ผ่านมามีเทคโนโลยีมากมายเกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวก ไม่เว้นแม้แต่บทบาทการใช้เทคโนโลยีสร้างความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ เพื่อลดปัญหาเหตุความรุนแรงที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี […]

Comments