จากโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเหตุกราดยิง คนคลั่ง หรือเหตุล่าสุดที่มีการก่อเหตุกลางห้างใจกลางกรุงเทพ ส่งผลให้เกิดคำถามจากประชาชนตามมาหลายครั้งว่า ความปลอดภัยอยู่ที่ไหน ? ขณะที่นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเองก็ตั้งคำถามถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่เพียบพร้อมเหมือนกับในต่างประเทศ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราจึงเห็นภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับปลอดภัยสาธารณะมากขึ้น  คือสิ่งที่ภาครัฐให้ความสำคัญอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไม่เพียงเพราะความปลอดภัยที่ดีส่งผลถึงคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คน หากแต่ ความปลอดภัยสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ ยังส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้องไปกับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อันนำมาซึ่งภาพลักษณ์ และความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการพัฒนาทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และสังคม และเทคโนโลยี ที่อยู่ หรือแม้แต่การพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี ภายใต้นโยบายแนวคิด Smart City 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความปลอดภัยถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนทำให้นโยบาย Smart City ประสบความสำเร็จ เพราะหากดูจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ได้กล่าวถึง ความปลอดภัยอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการรองจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต จึงไม่แปลกที่จะเห็นประเทศมหาอำนาจ หรือประเทศที่พัฒนาแล้วหลายแห่งให้ความสำคัญกับมาตรฐานความปลอดภัย ขณะที่บรรดาหัวเมืองใหญ่ หรือท้องถิ่น ก็ได้ขับเคลื่อนเพื่อสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัยสาธารณะ ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเมืองสู่การเป็น Smart City 

ความปลอดภัยสาธารณะ
Security camera against illuminated urban skyline at night. Concept of surveillance, protection and safety.

ส่วนในบ้านเรา นับตั้งแต่มีการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ก็มีองค์การส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมมากมาย โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา มีเมืองที่ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะไปแล้วกว่า 100 เมือง ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต หรือ ชลบุรี ฯลฯ และมีหลายเมืองประสบความสำเร็จเช่น จังหวัดเชียงใหม่ที่ได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับ Smart City มาพัฒนาระบบขนส่งในพื้นที่ให้เกิดการเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเสริมสร้างความปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ยังมี จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีทั้งพื้นที่อุตสาหกรรม และเป็นเมืองท่องเที่ยว ก็มีโครงการพัฒนาให้พื้นที่ต่าง ๆ เป็นเมืองอัจฉริยะ อาทิ อำเภอแสนสุข มีการพัฒนาระบบสาธารณสุขอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีการวางแผนพัฒนาเมืองชลบุรีให้เป็นเมืองอัจฉริยะด้านความปลอดภัย และการท่องเที่ยวในอนาค 

ขณะที่ จ.อุดรธานี เป็นจังหวัดที่ก้าวเข้าสู่โครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะเมื่อปี พ.ศ. 2563 โดยได้มีการขับเคลื่อนการพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะในทุก ๆ ด้าน ในขณะที่ด้านความปลอดภัยสาธารณะ สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรก็ได้รับเลือกเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการ Smart Safety Zone 4.0 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้มีการนำนวัตกรรมมาช่วยเสริมประสิทธิภาพการป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก และดูแลรักษาความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน โดยนวัตกรรมดังกล่าวถูกนำมาใช้ส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะ ภายใต้ชื่อแพลตฟอร์ม UDONCOP ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา สถานีตำรวจภูธรเมืองอาสาอุดรธานี ได้ลงนามความร่วมมือกับ เทศบาลนครอุดรธานี ส่งมอบระบบ UDONCOP เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างรากฐานระบบความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ มุ่งพัฒนาเมืองอุดรธานีให้เป็นพื้นที่ SAFE UDON และร่วมกันวางรากฐานระบบความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะในเขตเทศบาลนครอุดรธานี 

การลงนามร่วมมือระหว่าง สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี และเทศบาลนครอุดรธานี ครั้งนี้ ถือเป็นการสนับสนุนภารกิจความปลอดภัยสาธารณะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่มีระบุไว้ใน พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 มาตรา 7 ที่ว่า

“ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดระบบการบริหาร การปฏิบัติงานด้านการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และการรักษาความปลอดภัย ของประชาชนให้เหมาะสมกับความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่นและชุมชน โดยต้องให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย งบประมาณ และสมัคร ตลอดจนการติดตามตรวจสอบการปฏิบัติงานตำรวจ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ต.ช. กำหนด

ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่สถานีตำรวจใด ให้ใช้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจและกิจการในสถานีตำรวจนั้น โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน หรือชุมชน ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน หรือชุมชนนั้น”

ขณะที่เทศบาลเองก็ได้ทำตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลนคร ดังที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขถึงฉบับที่ 14 พ.ศ. 2563 มาตรา 50 (2/1)  และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (30) ที่ได้กล่าวถึง อำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย การดูแลการจราจร การส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงข้อกฎหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2560 มาตรา 250 ที่ว่า

“องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะ และกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 

การจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะใดที่สมควรให้เป็นหน้าที่และอำนาจโดยเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละรูปแบบ หรือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการใด ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติซึ่งต้องสอดคล้องกับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามวรรคสี่ และกฎหมายดังกล่าวอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับกลไกและขั้นตอนในการกระจายหน้าที่ และอำนาจ ตลอดจนงบประมาณและบุคลากรที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจดังกล่าวของส่วนราชการให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย 

ในการจัดทำบริการสาธารณะหรือกิจกรรมสาธารณะใดที่เป็นหน้าที่และอำนาจขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าการร่วมดำเนินการกับเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐหรือการมอบหมายให้เอกชน หรือหน่วยงานของรัฐดำเนินการ จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการเอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะร่วมหรือมอบหมายให้เอกชนหรือหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการนั้นก็ได้”

ทั้งนี้ การที่ท้องถิ่นเองเห็นความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยสาธารณะ นอกจากเพื่อประโยชน์โดยตรงต่อประชาชนในพื้นที่ ยังถือเป็นโอกาสในการต่อยอดมูลค่าจากความเชื่อมั่นในมาตรฐานความปลอดภัย อันจะนำไปสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจของพื้นที่ รวมถึงเป็นต้นแบบโมเดลต่อไปในอนาคต

Security Pitch ในฐานะผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม UDONCOP มีความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนภารกิจด้านความปลอดภัยสาธารณะ ตามเป้าหมายพันธกิจของเราที่ต้องการสร้างระบบนิเวศด้านความปลอดภัยที่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริงให้กับสังคมไทย

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]

บทความที่น่าสนใจ

Related Posts
  • กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน

    เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ  […]

  • ‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี

    จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]

  • ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน

    จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี  ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]

Comments
Write A Comments