-
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ […]
-
‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]
-
ถึงเวลาไทยต้องมี Mass Notification แจ้งข่าวสารเตือนภัยถึงประชาชน
จากสถานการณ์อุทกภัยในจังหวัดเชียงรายที่สร้างความเสียหายกระทบในวงกว้าง อันเห็นได้จากภาพที่มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ขณะที่นักวิชาการหลายคนก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่คืออุทกภัยที่หนักสุดในรอบ 40 ปี ไม่เพียงภาพความเสียหายและเรื่องของความช่วยเหลือ แต่ทุกครั้งที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งหนึ่งที่มักถูกหยิบยกมาเป็นประเด็น คือระบบสื่อสารและการแจ้งเตือนที่ขาดประสิทธิภาพ จนเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการรับมือและแผนเผชิญเหตุที่เหมาะสมกับความปลอดภัยสาธารณะ แจ้งเตือนช้า ประชาชนเคว้ง เมื่อข้อมูลทางการจากหน่วยงานส่งมาไม่ถึงบ้าง ล่าช้าจนความเสียหายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว […]
Public Warning กับโครงสร้างพื้นฐานด้านความปลอดภัยสาธารณะ
นับตั้งแต่เริ่มต้นสหัสวรรษใหม่ โลกก็เผชิญกับภัยคุกคามทางกายภาพที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงกับโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ และสังคมของโลก นับครั้งไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นภัยจากการก่อการร้าย ผลกระทบจากการแข่งขัน โรคระบาด หรือแม้แต่การโต้กลับของธรรมชาติจนทำให้เกิดภัยพิบัติร้ายแรงโดยไม่คาดคิด กระทั่งภัยเหล่านี้มาถึงตัว จึงตระหนักได้ว่า ความปลอดภัยสาธารณะ คือสิ่งที่จำเป็นไม่แพ้ความปลอดภัยในด้านอื่น ๆ อันนำมาซึ่งการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเหตุอย่างทันท่วงที
Public Warning หรือ ระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินสาธารณะ นับเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเพื่อ ความปลอดภัยสาธารณะ ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ ซึ่งปัจจุบันได้มีหลายประเทศทั่วโลกพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินสาธารณะนี้ขึ้น แม้แต่องค์การสหประชาชาติก็มีการพัฒนาระบบ Early Warning System เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ The International Early Warning Programme ที่เกิดขึ้นในปี 2007 สำหรับใช้ในการส่งคำเตือนฉุกเฉินไปยังเจ้าหน้าที่ที่ประจำการอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เมื่อเกิดสถานการณ์เร่งด่วน หรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์
นอกจากนี้ก็ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ได้พัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินทางสาธารณะไว้ใช้ในประเทศของตนเอง อาทิ
สหรัฐอเมริกา
ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการนำระบบ Wireless Emergency Alerts (WEA) มาใช้ในการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินสาธารณะ อาทิ ภัยพิบัติ เด็กหาย หรือเหตุการณ์ร้ายแรง ตั้งแต่ปี 2012 โดยเป็นการแจ้งเตือนผ่านโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ไปยังผู้ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์ที่เข้าร่วมกับสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (Federal Emergency Management Agency) ซึ่งนับตั้งแต่มีการนำมาใช้ ได้มีการส่งข้อความแจ้งเตือนไปแล้วกว่า 84,000 ครั้ง
ทั้งนี้ในการแจ้งเตือนของ WEA นั้น ข้อความแจ้งเตือนจะถูกส่งไปยังประชากรที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย หรือมีเหตุการณ์เกิดขึ้น โดยมีความยาวเพียง 360 ตัวอักษร และมีรายละเอียด เช่น ประเภทของเหตุการณ์ฉุกเฉิน และสิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สามารถปฏิบัติตามได้ทันที
นอกจากนี้ในสหรัฐฯ ยังได้มีการพัฒนาระบบ AMBER Alert เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนเหตุลักพาตัวเด็กด้วย
สหภาพยุโรป
สหภาพยุโรป ได้มีออกกฎหมายบังคับให้ประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือสหภาพยุโรปต้องมีระบบบการแจ้งเตือน Public Warning System ในปี 2018 และได้มีการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินสาธารณะ อย่าง EU-Alert ขึ้น เพื่อใช้แจ้งเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านทางเทคโนโลยี Cell Broadcast โดยขณะนี้ประเทศในสหภาพยุโรปได้มีการนำระบบนี้มาใช้อย่างเต็มรูปแบบแล้วใน 10 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ กรีซ ลิทัวเนีย โรมาเนีย สเปน ฝรั่งเศส เยอรมนี เดนมาร์ก นอร์เวย์ โครเอเชีย และอีก 7 ประเทศที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา หรือทดสอบระบบ ได้แก่ ออสเตรีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวีย สโลวาเนีย ไอร์แลนด์ และโปแลนด์ นอกจากนี้ยังมีอีก 4 ประเทศ ที่ได้มีการแจ้งเตือนผ่าน SMS แทนเทคโนโลยี Cell Broadcast แต่ยังเป็นไปตามกฎหมายของสหภาพยุโรป
เกาหลีใต้
ระบบ Korean Public Alert Service (KPAS) ของประเทศเกาหลีใต้ ถือเป็นระบบการแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพมากแห่งหนึ่งของโลก โดยเหตุการณ์ที่ทำให้คนไทยรู้จักระบบแจ้งเตือนดังกล่าวมากขึ้น คือในเหตุการณ์อิแทวอน เมื่อปี 2022 ระบบ KPAS ถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2005 โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติ อุบัติเหตุ หรือแม้แต่การแจ้งเตือนผู้ติดเชื้อ ก็จะถูกส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนทุกคนที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย และสามารถเฝ้าระวังได้อย่างรวดเร็ว
ญี่ปุ่น
เนื่องด้วยประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหว และภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จึงได้มีการพัฒนาระบบ J-Alert ขึ้นในปี 2007 เพื่อเป็นระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านการออกอากาศคำเตือนทางโทรทัศน์ ผ่านลำโพงกลาง แจ้งในพื้นที่ วิทยุ และอีเมล นอกจากนี้การแจ้งเตือนจะถูกส่งผ่านการแจ้งเตือนแบบ Push Notification ไปยังโทรศัพท์มือถือ ซึ่งในปัจจุบันข้อความที่ส่งผ่านระบบ J-Alert ได้ครอบคลุมภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง ภาษาเกาหลี และภาษาโปรตุเกส เพื่อให้ชาวต่างชาติได้รับการแจ้งเตือนอย่างทั่วถึง
ออสเตรเลีย
ประเทศออสเตรเลียได้มีการนำเอาระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน Emergency Alert มาใช้ครั้งแรกในปี 2009 โดยเป็นระบบการแจ้งเตือนผ่านรายการวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่น ไซเรนในพื้นที่ หรือการติดต่อผ่านเบอร์ +61 444 444 444 ซึ่งล่าสุดได้มีการส่งข้อความแจ้งเตือนไปแล้วกว่า 70 ล้านข้อความ
แคนาดา
แคนาดาเป็นประเทศที่มีการพัฒนาระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินของแคนาดา ที่เรียกว่า Alert Ready ซึ่งจะเป็นการแจ้งเตือนผ่านทางโทรทัศน์ วิทยุ และอุปกรณ์ไร้สายที่เชื่อมต่อและรองรับสัญญาณโทรศัพท์แบบ LTE ทั้งนี้ระบบ Alert Ready พัฒนาขึ้นโดยการร่วมมือระหว่างภาครัฐของแคนาดา และพันธมิตร โดยสามารถแจ้งเตือนได้ไม่ว่าจะเป็นเกิดเหตุไฟไหม้ สภาพอากาศรุนแรง หรือมีผู้ก่อการร้าย ซึ่งจากสถิติในปี 2023 ระบบ Alert Ready ได้ทำการแจ้งเตือนแก่ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 1,049 ครั้ง
ฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องมีการแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพ โดยในปี 2017 ประเทศฟิลิปปินส์ได้พัฒนาระบบ Emergency Cell Broadcast System (ECBS) ขึ้นเพื่อใช้แจ้งเตือนภัยพิบัติ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast ซึ่งนอกจากจะแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินแล้ว ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์อพยพ เว็บไซต์บรรเทาทุกข์ และจุดรับ – ส่งประชาชนด้วย
นอกจากประเทศที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีอีกหลายประเทศที่มีระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน โดยมีการแจ้งเตือนผ่านข้อความ SMS สื่อสาธารณะ เช่น สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ อย่างประเทศอินเดีย ก็เพิ่งมีการทดสอบระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านระบบ Pan-India Emergency Alert System โดยระบบจะส่งข้อความไปยังโทรศัพท์ของผู้ที่อยู่ในพื้นที่ และทำให้โทรศัพท์ของผู้ใช้งานเกิดเสียงแจ้งเตือนที่มีความดัง และเปิดไฟจากแฟลชโทรศัพท์ แต่ยังไม่ได้มีการสรุปว่าจะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการเมื่อใด
ขณะที่ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ได้เริ่มมีการทดสอบระบบการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast ที่ส่งมาจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งหลังจากที่มีประชาชนจำนวนหนึ่งได้รับข้อความดังกล่าว ทางกระทรวงฯ ได้ออกมาแถลงว่า กำลังมีการพัฒนาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งในระยะแรกจะเป็นการแจ้งเตือนผ่านระบบ SMS และจะมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้จริงภายใน 1 ปี
ทั้งหมดนี้ถือเป็นความพยายามของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่ต้องการสร้างระบบการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากที่สุด ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของผู้คน และทรัพย์สินสาธารณะ เพื่อสังคมที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง
Security Pitch ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยสาธารณะ เราจึงไม่หยุดที่จะพัฒนานวัตกรรมด้านความปลอดภัย โดยพร้อมที่จะช่วยขับเคลื่อนนโยบายด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างแท้จริง
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce
Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : [email protected]